Advantage and disadvantage of Through Conduit Gate Valve
Through conduit gate valve is a sliding valve whose closing parts are parallel gates. The closing member may be a single ram or a … Read more
GET GATE VALVE คือ อะไร INFORMATION
โดยจะให้ของเหลวไหลจาก ซ้ายไปขวา หรือ ขวาไปซ้าย มีลิ้นปิดเหมือนประตูเลื่อนลงใช้ในการเปิด-ปิดการไหลเท่านั้น ไม่นิยมนำมาใช้ในการควบคุมการไหลเนื่องจากเปิด-ปิดได้ช้าจึงไม่เกิดการตะบันน้ำ (Hydraulic Ram) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง Momentum ของของเหลวอย่างทันทีทันใด และจะส่งผลให้วาล์วพัง ท่อแตก หรือ ข้อต่อหลุดได้
เมื่อต้องการเปิดปิดทางเดินน้ำ หรือ ของเหลวในเส้นท่อ Disk หรือ ลิ้นของเกทวาล์ว (Gate Valve) จะทำหน้าที่เลื่อนลงมาตั้งฉากกับทิศทางการไหลของของเหลว และเลื่อนลิ้นวาล์วขื้นเมื่อต้องการเปิดทางให้ของเหลวกลับมาไหลผ่านเส้นท่อดังเดิม
เกทวาล์ว (Gate Valve) หรือวาล์วประตูน้ำนี้ มักจะใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย เหมาะสำหรับรูปแบบการใช้งานแบบ เปิดหรือปิดสนิท ไม่เหมาะสำหรับการเปิดหรี่ หรือ ชะลอน้ำ หรือการปรับแต่งปริมาณของเหลว การควบคุมการไหลแบบเปิดปิดไม่สุด เพราะสามารถทำให้เกิดเสียดังและเกิดความเสียหายแก่เกทวาล์ว (Gate Valve) และอุปกรณ์ต่างๆในระบบไม่ว่าจะเป็นท่อหรือข้อต่อได้
นอกจากนี้ เกทวาล์ว (Gate Valve) ยังไม่มีบ่ารองวาล์ว (Valve Seat) ที่มักจะใช้เป็น Polymer และทนอุณหภูมิสูงไม่ได้ ดังนั้นเกทวาล์ว (Gate Valve) จึงใช้กับอุณหภูมิสูงได้ แต่ไม่นิยมใช้กับของไหลที่มีสารแขวนลอยเพราะสารแขวนลอยอาจะไปตกอยู่ในร่องวาล์วได้ ทำให้ไม่สามารถปิดวาล์วได้สนิทจริงๆ
ข้อดี (Advantanges) คือ
ข้อเสีย (Disadvantages)
วัสดุที่ใช้ทำ Solid Wedge Gate Valve
วาล์วชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายคลีงกับ Solid Wedge Gate Valve แต่จะมีข้อแตกต่างกัน คือระหว่างก้านวาล์ว และตัว Disc ไม่ต่อเนื่องกันเป็นชิ้นแข็ง แต่จะให้ตัวได้หรือหลวมเล็กน้อย เพื่อให้ Disc ขยับตัวได้นั่นเอง ลักษณะนี้ทำให้ปิดได้ แน่นยิ่งขึ้น และยังลดความฝืดหรือขัดตัวขณะเปิดได้อีกด้วย
วัสดุที่ใช้ทำ Flexible Wedge Gate Valve จะเหมือนกับ Solid Wedge Gate Valve
ลักษณะของเกทวาล์วชนิดนี้คือ ระหว่างก้านวาล์ว และตัว Disc ไม่ต่อเนื่องกันเป็นชิ้นแข็ง แต่จะให้ตัวได้หรือหลวมเล็กน้อย เพื่อให้ Disc ขยับตัวได้นั่นเอง ลักษณะนี้ทำให้ปิดได้ แน่นยิ่งขึ้น และยังลดความฝืดหรือขัดตัวขณะเปิดได้อีกด้วย
ลักษณะของเกทวาล์วชนิดนี้คือ Disc และ Seat ทั้ง 2 ข้างขนานกัน.
มีลักษณะเป็นแผ่น Disc อิสระ 2 แผ่น ตรงกลางลงมาต่อกันด้วย Ball Joint ลักษณะดังกล่าวทำให้ Disc ทั้ง 2 แผ่น ทำหน้าที่ Seal ได้ดีขึ้น เวลาอัดปิดรอบสุดท้าย Ball Joint จะไปบังคับให้ถ่าง Disc ออกจากกัน และ Disc แต่ละตัวจะ Seal อย่างอิสระแต่ละข้าง Seat
1.1. Body-Bonnet Joint รูปแบบการประกอบตัวเรือนวาล์ว (Body) เข้ากับ Bonnet ที่เรามักพบเห็นบ่อยมีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ ได้แก่
1.1.1. แบบเกลียว (Screwed Joint) ดูรูปที่ 31 เป็นวิธีการออกแบบด้วยการประกอบเชื่อมต่อง่ายที่สุดด้วยการกลึงเกลียวตัวผู้บนปลาย Bonnet ทั้ง 2 ด้าน โดยหมุนเกลียวเข้ากับเกลียวตัวเมียที่อยู่บนปลายด้านหนึ่งที่เป็นตัวเรือนวาล์ว ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งหมุนเกลียวเข้ากับตัวอัดประเก็นเข้ากับก้านวาล์ว การออกแบบการประกอบตัวเรือนเข้ากับ Bonnet ด้วยวิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ประหยัด เราจึงพบมากในพวกวาล์วทองเหลืองขนาดเล็กแบบใช้พังแล้วทิ้งบอกลากันไปเลย เช่น วาล์วทองเหลืองระบบท่อน้ำประปา
1.1.2. แบบ Union Joint ดูรูปที่ 32 เป็นรูปแบบการประกอบเข้าด้วยกันระหว่าง Body กับ Bonnet คล้ายกับข้อต่อ Union ของระบบท่อนั้นเอง โดยใช้ Union Nut ล็อกกับ Bonnet ไปขันอัดเข้ากับเกลียวตัวผู้ที่อยู่บนตัวเรือนวาล์ว วิธีการเชื่อมต่อแบบ Union Joint มีข้อดีกว่าแบบเกลียว (Screwed Joint) เพราะหน้าสัมผัสซีลของตัวเรือนวาล์วกับ Bonnet จะไม่เกิดความเสียหายเมื่อกวดอัดเกลียวเชื่อมต่อกันระหว่างตัวเรือนวาล์วกับ Bonnet อีกทั้งสะดวกในการใช้งานที่ต้องการถอดประกอบระหว่างการใช้งานหากต้องการซ่อมแซมวาล์ว แต่มีข้อจำกัดนั้นคือการเชื่อมต่อแบบนี้ใช้กับวาล์วที่มีขนาดเล็กเท่านั้น
1.1.3. แบบ Bolted-Bonnet เป็นการประกอบตัวเรือนวาล์วกับ Bonnet ด้วยหน้าแปลนผิวหน้าสัมผัสกดอัดด้วย Bolts หรือ Studs กับ Nuts โดยมีประเก็นสอดระหว่างหน้าแปลนทั้ง 2 เพื่อป้องกันการรั่วซึมของไหล ดังแสดงในรูปที่ 30 ส่วนรูปแบบการออกแบบประเก็นว่าจะเป็นแบบใดนั้นขึ้นอยู่ชั้นทนแรงดันของวาล์วชนิดนั้นๆ เช่น ชั้นทนความดันต่ำมักใช้ประเก็นแบบแผ่นเรียบ ในขณะที่ชั้นทนความดันปานกลางถึงความดันสูงมักจะใช้ประเก็นชนิด Filled Spiral-Wound Gasket หรือ Metal Ring (ดูรูปที่ 33) ดังนั้นการเชื่อมต่อด้วยวิธีการนี้จึงง่ายและสะดวกต้องการถอดประกอบในการทำความสะอาดหรือซ่อมแซมเพราะเป็นช่องเปิดที่กว้างเข้าถึงภายในตัวเรือนวาล์วได้สะดวกอีกทั้งสามารถใช้ได้กับวาล์วที่มีตัวเรือนและ Bonnet ทำด้วยเหล็กหล่อ (Cast Iron) หรือเหล็กเหนียว (Steel)
Through conduit gate valve is a sliding valve whose closing parts are parallel gates. The closing member may be a single ram or a … Read more
The gate valve is a gate for opening and closing. The movement direction of the gate is perpendicular to the direction of … Read more
Gate valves are cut-off valves and are usually installed on pipes with a diameter greater than 100mm to cut off or connect … Read more
Low-tech valves have not changed much over the past 100 years, but gate valves play an important role in the equipment of … Read more
Application of the gate valve Gate valve, also known as flanged gate valve, is a widely used valve. Its closing principle is that … Read more
กระบอกลม (Pneumatic Air Cylinder) คือ กระบอกลม หรือเรียกอีกชื่อว่า Actuator อุปกรณ์ลมที่ใช้ลมทำให้ก้านกระบอกลม เคลื่อนที่ไปในแนวเส้นตรง หรือหมุน 90, 180, 270 หรือ 360 องศา อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมให้เป็นพลังงานกลในรูปแบบของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งตามลักษณะการทำงานหรือการเคลื่อนที่ หลักการทำงาน Pneumatics Control … Read more